สภาพยีนส์เอวปริ และเสื้อเน่าตัวเก่า
ก่อนจะเริ่มซ่อม เรามาฝึกพิจารณารอยแผลของเสื้อผ้าตัวเก่ากันก่อน แล้วประเมินว่ามันพอจะซ่อมด้วยมือเราได้ไหม ซ่อมแล้วน่าจะใส่ต่อได้รึเปล่า

กางเกงยีนส์ตัวเก่งของเราตัวนี้วิเคราะห์สภาพรูที่ขาดแล้วค่อนข้างใหญ่ ระดับชูสองนิ้วลอดเข้ามาได้ แต่เราก็คิดว่าน่าจะสู้ไหว ด้วยการขาดที่ยังเป็นรอยเส้นตรงแต่ไม่ได้ถึงกับโบ๋จนเนื้อผ้าหายไปเลย น่าจะเย็บปิดด้วยการสานและเดินเส้นได้อยู่
ส่วนตรงกระเป๋าที่เคยเอาให้ป้าเย็บผ้าแถวบ้านซ่อมให้ ก็เปิดแผลให้เห็นรอยด้ายไร้ระเบียบเกินไป เดี๋ยวจะเอาเศษผ้ามาปะทับก็แล้วกัน
เสื้อห่านคู่ที่ใส่นอน มีข้อเสียคือความบาง เพราะใส่นานแล้วและซักหลายรอบ แต่มันก็นุ่มนิ่มจนไม่อยากทิ้ง อยากลองซ่อมดูก่อน
อุปกรณ์สำหรับซ่อมแบบ visible mending

- เข็มปักขนาดใหญ่ ขนาดเข็มเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าจะใช้กับกางเกงยีนส์เนื้อหนา เข็มต้องใหญ่และแข็งแรงพอที่ทิ่มเข้าไปจะไม่หักกลาง
- ด้ายปัก เลือกสีสันที่ชอบใจได้ เพราะ visible mending คือการปักแบบอวดรอยแผล ดังนั้น เลือกสีที่อยากอวดและตัดกับสีผ้าด้วยจะยิ่งน่ารัก
- เศษผ้าเหลือใช้ ผ้าชิ้นจิ๋วที่ไปโน่นไปนี่แล้วซื้อมาเก็บไว้ ได้ฤกษ์ใช้สักทีนะ น้องเศษผ้าคนนี้ซื้อมาจาก Nippori ที่โตเกียว ญี่ปุ่นเลยนะ
- เข็มหมุด เอาไว้กลัดผ้าให้นิ่ง ไม่ดิ้นไปมา
- ส่วน ตัวรีดรูปหัวใจ เอามาเผื่อไว้ในกรณีที่ปักแล้วไม่ชอบขึ้นมา 555 (สุดท้ายไม่ได้ใช้นะ)
วิธีทำ – เย็บให้เห็น ซ่อมรอยขาดบนกางเกงยีนส์

หยิบด้ายปักสีที่ชอบมาสนเข็ม เลือกสีด้ายที่ตัดกับผ้า จะทำให้งานออกมาน่ารักและมองเห็นชัดว่ารอยซ่อมอยู่ตรงไหน คือเสน่ห์ของ visible mending เขาล่ะ และอย่าลืมว่าการสนเข็ม ใจต้องนิ่ง

เริ่มปักเดินเส้นแนวตั้ง ด้านที่ตั้งฉากกับรอยขาด

เดินเส้นยาวเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องครอบคลุมส่วนที่ขาด
ปักย้อนกลับ เว้นระยะห่างตามชอบ ไปเรื่อยๆ

เมื่อเดินเส้นมาจนถึงรอยขาด ถ้ามีด้ายเก่าของกางเกงเหลืออยู่ ให้สานหรือสอดด้ายสลับบนล่างของด้ายเก่า ในการเดินเส้นแต่ละรอบ

เดินเส้นขึ้นและลงไปเรื่อยๆ จนสุดรอยขาด

หรือจะเดินเส้นต่อไปอีกตามใจชอบ

ปักเข็มลงไปด้านหลัง ผูกปม


หยิบด้ายอีกสีที่ตัดกัน มาปักเพื่อปิดรอยแผลให้แน่นสนิท
ปักเข็มลงไปด้านหลัง ผูกปม

เหมือนยังไม่เสร็จ แต่นี่เสร็จแล้ว!
วิธีทำ – ปะเศษผ้า ปิดรอยเย็บเก่าที่กระเป๋ากางเกง

ตัดเศษผ้าให้พอดีกับช่องกระเป๋า

กลัดไว้ด้วยเข็มหมุด

เริ่มเย็บที่ขอบผ้าด้านล่าง

แทงเข็มขึ้น แล้วจับด้ายให้ไขว้ไปด้านหลังของเข็ม
เว้นระยะพอดีๆ แล้วทำเหมือนเดิมไปเรื่อยๆ จนครบขอบผ้า

เสร็จแล้ว! วิธีนี้นอกจากจะน่ารัก ยังช่วยไม่ให้ชายผ้ารุ่ยด้วยนะ
วิธีทำ – เย็บปิดรูบนเสื้อนอนเน่า

เย็บปิดรูบนเสื้อ ปักด้ายสีสนุกขึ้นลงไปตามแนวเรื่อยๆ

ปิดจนรูสนิทกันตลอดรอดฝั่ง

เป็นอันเสร็จ เพราะเหนื่อยแล้ว แต่ก็โอเคนะ
ผลลัพธ์ของการลงมือซ่อมแซมเสื้อผ้าที่สึกหรอ


ฟังดูโรแมนติกแต่เป็นเรื่องจริง ถ้าจะบอกว่าการใช้เวลาครึ่งบ่ายวันอาทิตย์ไปกับการค่อยๆ เย็บ ค่อยๆ ซ่อมเสื้อผ้า มันทำให้เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับกางเกงยีนส์ตัวเก่งและเสื้อนอนตัวเก่าแบบทะนุถนอมมากขึ้น ทำให้เราฝึกที่จะชื่นชมในความสึกหรอมากขึ้น ทำให้เราได้กลับมาใช้มือ สายตา และจดจ่อสมาธิกับสิ่งของที่จับต้องได้มากขึ้น
แถมการสวมใส่ผลงานซ่อมแซมชิ้นเดียวในโลกของเรา มันทั้งประหยัดและภูมิใจกว่าไปซื้อของใหม่ตั้งเยอะแยะ

Read More:

I Need Some Body Positivity ทำไมต้อง ‘ดูดี’ ทั้งที่ก็ต้องอยู่แต่ในบ้าน
วิธีเอาใจออกห่างไวรัสด้วยการหันมาดูแลตัวเอง ทั้ง ‘ข้างนอก’ (body) และ ‘ข้างใน’ (mind)

20 ชิ้น 20 วัน ฉันจะใส่เสื้อผ้าวนไป ไป ไป ไป!
20x20 challenge ท้าตัวเองให้ใส่เสื้อผ้าแค่ 20 ชิ้น วนไปภายใน 20 วัน

ดูออกนะ!! ดูให้รู้ความต่างของเครื่องสำอางสายคลีน
สำรวจไอเท็ม organic / vegan / cruelty-free / clean beauty ว่าต่างกันยังไง ดีต่อเราและดีต่อโลกแค่ไหน