Play —— Hey U!

อีเวนต์ Remind เด้อ | เดือนตุลาคม

วนกลับมาเดือนตุลาคม มีไม่กี่เรื่องที่ย้ำในใจให้จดจำ ย้ำให้มีหวัง ย้ำเพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ใช่ เรากำลังพูดถึงทั้งเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 และ 6 ตุลา 2519

ชวนคุณมาเป็นส่วนหนึ่งทำให้ตุลานี้เป็นเดือนแห่งความหวังอีกครั้ง กับอีเวนต์จุดไฟความหวังตลอดเดือน ทั้งนิทรรศการภาพถ่ายคลี่คลายประวัติศาสตร์ที่โดนปิดบัง นั่งคุยรำลึกประวัติศาสตร์นอกตำราเรียนกับคนเดือนตุลา ฟังบทเพลงแห่งความหวังจากคนรุ่นใหม่ หรือเดินตามหาหนังสือปลุกความหวังในใจในงานหนังสือ ใครที่ไม่อยากพลาดจะเซฟรูปนี้ไว้ หรือคลิกลิงก์ข้างล่างเพื่อเพิ่มแพลนนี้ลง google calendar แบบอัตโนมัติได้เลย

Desktop version กดที่นี่
Mobile Version กดที่นี่

(1) สืบหาเรื่องราวจากภาพถ่าย ในนิทรรศการ 6 ตุลา เผชิญหน้าปิศาจ

1 ต.ค.-13 พ.ย. | Kinjai Contemporary 

นิทรรศการที่รวมชุดภาพถ่ายในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ทั้งจากหนังสือพิมพ์ สำนักข่าวต่างประเทศ บุคคล อดีตช่างภาพหนังสือพิมพ์หัวเก่า ที่เป็นพยานหลักฐานชิ้นสำคัญบันทึกความรุนแรงจากรัฐและมวลชน โดย 80% ของภาพถ่ายในนิทรรศการนี้ ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน และยังมีกิจกรรมตามหา(ย)บุคคลในภาพ ผ่านไป 46 ปีแล้ว พวกเขาและเธออยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรกันบ้าง

(ปิดทุกวันจันทร์)

(2) ฟังดนตรี จุดเทียนรำลึก ล้อมวงเล่า ในงาน October to remember

6 ต.ค. | ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

อีเวนต์ที่เปิดพื้นที่ให้ทุกคนได้ถกเถียง รับฟัง พูดคุยประวัติศาสตร์การเมือง ร่วมกับเหล่าผู้คนในเหตุการณ์ 6 ตุลา ทำความเข้าใจบาดแผลในอดีตซึ่งกันและกัน ร่วมขับร้องบทเพลงแห่งความหวังกับเหล่าศิลปินรุ่นใหม่ เพื่อหวังว่าลมจะพาเสียงแห่งหวังลอยออกไป ไม่ปล่อยให้ประวัติศาสตร์นี้เป็นแค่ความทรงจำที่ถูกทำให้ลืม

(3) ส่องหนังสือบันทึกเรื่องวันวาน ในงาน มหกรรมหนังสือระดับชาติ

12-23 ต.ค. | ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์

ขอแนะนำหนังสือที่ช่วยเติมความหวังในใจ ว่าเราเดินมาไกลจากเดิมกันมากแล้ว อย่าเพิ่งหมดหวังไปก่อน (ใครมีเล่มไหนอยากป้ายยาเพิ่มบอกกันได้)

  • ‘Everywhere Girl’ สำนักพิมพ์ Salmon Books

ไดอารี่ลายมือ ของ ‘juli baker and summer’ ที่บรรจุเรื่องราวในช่วงเวลาของการผลัดเปลี่ยนยุคสมัย ผ่านการออกไปเดินเท้าตามรอยประวัติศาสตร์การเมืองบนถนนราชดำเนิน เข้าร่วมการเรียกร้องประชาธิปไตย ชวนตั้งคำถามถึงผู้คน ระบบโครงสร้าง และสิทธิเสรีภาพในดินแดนนี้

  • ‘นี่แหละทรราชย์’ สำนักพิมพ์ Bookscape

คู่มือตาสว่างว่าด้วยการรักษาประชาธิปไตย ชวนถอดบทเรียนถึงผลร้ายของการเอออวยการปกครองแบบทรราชย์ จากบันทึกประวัติศาสตร์ตลอดศตวรรษที่ 20 เนื้อหาที่ดูเหมือนหนักแต่ถูกย่อยมาอย่างดี มีภาพประกอบสี่สีอ่านง่าย เข้าใจง่าย

‘ทุนนิยมเจ้า : ชนชั้น ความมั่งคั่ง และสถาบันกษัตริย์ในประเทศไทย’ ของ ปวงชน อุนจะนำ ที่แปลมาจาก Royal Capitalism ว่าด้วยการถกเถียงเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา หนึ่งในงานชุด ‘สยามพากย์’ ที่อยากให้คนไทยได้อ่าน ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือเห็นต่างก็ตาม

Content Creator

#นักเขียน #จบครูศิลปะ กำลังไล่อ่านหนังสือที่ซื้อมาให้หมดทุกเล่ม

Communication Designer

#กราฟิกดีไซเนอร์ #นิสิตออกแบบสื่อสาร

Read More:

Play สาระสำคัญ

ดูหนัง Studio Ghibli ให้เป็นธรรมชาติ

ชวนมาดูหนังอนิเมชั่นของสตูดิโอจิบลิในเน็ตฟลิกซ์ ที่เล่าเรื่องธรรมชาติอย่างแนบเนียน

Play

ยกออฟฟิศไปเวิร์กช็อป ‘ Risograph ’ งานพิมพ์ที่ใจดีกับโลกมากกว่าที่คิด!

ลงชื่อเป็นนักเรียนยกออฟฟิศ ไปรู้จริง ทำจริง พิมพ์จริง รู้จักงานพิมพ์ที่ไม่ได้แค่สวยยูนีคอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการพิมพ์ที่ดีต่อโลกและเรามากกว่าที่คิด!

Play ผลการทดลอง

‘ตามล่า’ หนังสือที่อยากได้จากร้านมือสอง

ทดลองช้อปหนังสือมือสองแบบมีมิชชั่น (ไม่) อิมพอสซิเบิ้ล