Eat —— Hey U!

Rice Time to Eat

เหลืออีกไม่กี่เดือนก็จะหมดปีแล้ว ใครเขาจะมาแจกปฏิทินกัน?

แต่ถ้าเป็นปฏิทินข้าว จะแจกเดือนไหนก็เหมือนกันนั่นแหละ เพราะฤดูการทำนาของประเทศที่ (ควรจะ) รุ่มรวยเรื่องข้าวอย่างเรา มีอยู่ตลอดปีตามความหลากหลายของพื้นที่ สายพันธุ์ข้าว และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ถ้าอ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้วมีคำถามว่าแล้วชาวนาปลูกข้าวเดือนไหนมันเกี่ยวอะไรกันฉัน ก็จะบอกเสียงดังๆ ว่า ถึงจะไม่ได้ไปเกี่ยวข้าวเอง ก็เกี่ยวอยู่ดีจ้ะ

ปฏิทินข้าวใหม่ 2565-2566 นี้ คือผลผลิตของกลุ่มสวนผักคนเมืองที่อยากชวนให้คนเมืองอย่างเรากินข้าวอย่างรู้ที่มา ผ่านช่วงเวลาของท้องนาไทย อย่างที่เราเล่าอยู่บ่อยๆ ว่าจริงๆ ไทยมีพันธุ์ข้าวหลากหลายอยู่เกือบสองหมื่นสายพันธุ์ อารมณ์เจ้าของนาชอบกินข้าวแบบไหนก็ปลูกพันธุ์นั้น ซึ่งข้าวพันธุ์พื้นเมืองพวกนี้มันก็จะเจริญเติบโตดีในที่ของมัน เลยไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยาประคบประหงมกันเกินควร แต่มาช่วงหลังๆ เราปลูกข้าวกันเป็นอุตสาหกรรม จากที่เคยปลูกตามใจเจ้าของนา ก็ต้องปลูกตามใจคนกินอยู่ไม่กี่พันธุ์ ปลูกเสร็จก็ส่งโรงสี พ่นยากันมอด แพ็คใส่ถุงเก็บไว้ขายกันยาวๆ ความหลากหลายที่ว่ามันก็เลยหายไป 

เกริ่นยาวเพื่อจะบอกว่า พออยากจะพลิกฟื้นข้าวพันธุ์พื้นเมืองให้กลับมาหลากหลายซึ่งสอดคล้องกับวิถีออร์แกนิกที่โลกอินกัน แต่ถ้าไม่มีคนกินอย่างเราช่วยอุดหนุนมันก็ไม่มีทางครบลูป แล้วทีนี้ คนกินที่รู้จักแค่ข้าวหอมมะลิ ข้าว กข. 43 กับข้าวเหนียวอย่างเรา จะตามเลกเชอร์เพื่อนทันได้ยังไง ปฏิทินที่ว่านี้ เขาสรุปมาให้เป็นไกด์ไลน์ง่ายๆ เลยจ้ะ 

นอกจากได้รู้จักชื่อข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ได้ยินแล้วหูไม่กระดิก ทั้งหอมเจ็ดบ้าน บือซูคิ เนียงกวง ก่ำกาดำ เกยไชย ลืมผัว ฯลฯ ได้รู้ว่านาปี นาปรังคืออะไรกันแน่ คอนเทนต์แน่นๆ ในปฏิทินยังสอดแทรกกระบวนการปลูก ประเพณี วัฒนธรรม ที่รายล้อมอยู่รอบนา สะท้อนความรุ่มรวยสมกับเป็นประเทศในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ขึ้นมาหน่อย

แล้ววิธีการที่ได้ใช้ปฏิทินสำหรับคนเห็นแก่กิน (อร่อย) คือส่วนที่ระบุข้าวใหม่แต่ละสายพันธุ์ที่กำลังหอมนุ่มได้ที่ให้เราไปหากินในแต่ละเดือน เช่นในเดือนกันยายนนี้ ข้าวขาวนาปรังจากผืนนาภาคกลางอย่างข้าวหอมกระดังงา หอมปทุมเทพ ชมนาด หอมเลื่องลือ เพิ่งออกรวงพร้อมเกี่ยวมาสีให้เรากินแบบสดใหม่ ข้าวเพื่อสุขภาพยอดฮิตอย่างหอมนิลหรือไรซ์เบอร์รี่ ก็กลิ่นกำลังฟุ้ง หรือถ้าใครเป็นสายลึก อยากกินข้าวเบอร์แปลก ก็ลองบือเนอมู เบายอดม่วง ก่ำกาดำ ก่ำใบเขียว และก่ำน้อย ดู ยิ่งพอเป็นข้าวใหม่ ยางยังเยอะ พวกข้าวก่ำจะมีเท็กซ์เจอร์หนุบๆ เหนียวๆ เหมือนกินข้าวญี่ปุ่น ในปฏิทินยังบอกว่าเอาไปทำข้าวตุ๋นอร่อยเว่อร์!

และไม่ได้มีแค่ชื่อข้าวให้ว้าวแล้วจบไป ในปฏิทินยังแนะนำกลุ่มต่างๆ ให้เราสั่งข้าวพันธุ์พื้นเมืองต่างๆ ได้ด้วย ยากกว่าเดินไปซื้อซูเปอร์ฯ แหละเรารู้ แต่ถ้าอยากกินอร่อย กินดี กินแล้วอิ่มใจที่ได้อุดหนุนชาวนาตั้งใจจริงในการรักษาความหลากหลายของข้าวแทนพวกเรา มันก็ไม่ยากเกินจะลงแรงหรอกเนอะ

ปิดท้ายด้วยการชี้เป้า ไปโหลดปฏิทินได้ที่ https://bit.ly/3q2M62L ได้เลย

Content Designer

อดีตผู้ช่วยบรรณาธิการนิตยสาร #aday คือเจ้าของหนังสือทั้งเรื่องจริงและเรื่องแต่ง อาทิ #สนธิสัญญาฟลามิงโก #ร้านหวานหวานวันวาน คือบรรณาธิการอิสระและคอนเทนต์ครีเอเตอร์ฟรีแลนซ์ ก่อนจะมาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทออกแบบคอนเทนต์ที่ยังไม่รู้จะตั้งชื่อตำแหน่งตัวเองว่าอะไร

Communication Designer

#กราฟิกดีไซเนอร์ #นิสิตออกแบบสื่อสาร

Read More:

Eat จากผู้ใช้จริง

รีวิวสินค้าป้ายเหลือง ที่ทั้งถูกและดีต่อโลก!

ตามล่าอาหารใกล้หมดอายุ ที่ราคาดีต่อกระเป๋าตังค์และยังดีต่อโลก

Eat มนุษยสัมพันธ์

มนุษยสัมพันธ์ 05: จักรวาลขนมปังของเชฟแก้ว Salee Bakehouse ที่พูดเรื่อง welfare ของเกษตรกร

ชวนเชฟแก้ว-กมลา ธานีโต คุยเรื่องการทำขนมปังแบบเข้าใจตัวเอง การเป็นครู และสิ่งสำคัญที่อยากส่งต่อให้กับนักเรียนในคลาสขนมปัง

Eat มนุษยสัมพันธ์

มนุษย์สัมพันธ์ 01 : คุยกับ 3 คนไกลบ้าน เปิดกล่องเสบียงอาหารจากครอบครัว

ชวนคนไกลบ้านทั้งหลายมาเปิดเสบียง โชว์กล่องอาหาร พร้อมเล่าเรื่องราวความเป็นห่วงเป็นใยของแต่ละครอบครัวให้เราฟัง